ข้อสอบราชการ - งานราชการ

ราชการไทย.com

แหล่งรวมแนวข้อสอบราชการพร้อมเฉลย

และความรู้เกี่ยวกับการทำงานของข้าราชการ พนักงานราชการ และหน่วยงานภาครัฐ

ข้อสอบราชการ - งานราชการ
ข้อสอบราชการ - งานราชการ

 แนวข้อสอบราชการพร้อมเฉลย

จำนวนผู้เข้าชม: 76



Download แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม

ศาสนพิธีเกิดขึ้นมาจากหลักการในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์ ฟังในวันมาฆบูชา ซึ่งเรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ มีอยู่ ๓ ประการ

 คือ

๑. การไม่ทําความชั่วทุกอย่าง

 ๒. การทําความดีให้ถึงพร้อม

๓. การทําใจให้ผ่องใส เมื่อชาวพุทธทําความดีต่าง ๆ ตามหลักการที่พระพุทธองค์ ตรัสไว้ซึ่งเรียกว่า การทําบุญ วัตถุ เป็นที่ตั้งแห่งการทําบุญเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ มีอยู่ ๓ ประการ

คือ

๑. ทานการให้สิ่งของต่าง ๆ

๒. ศีล การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย

๓. ภาวนา การทําจิตให้ผ่องใส บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๓ ประการนี้เมื่อชาวพุทธทําแล้ว ทําให้เกิด ศาสนพิธีต่างๆ ขึ้นมาตามลําดับ ตามยุคตามสมัย

ลงข้อมูลวันที่ : 31/01/2566
จำนวนผู้เข้าชม: 56



Download แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม

แนวข้อสอบนักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ 150  ข้อ พร้อมเฉลย

ลงข้อมูลวันที่ : 31/01/2566
จำนวนผู้เข้าชม: 49



Download แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ฉบับเต็ม มีแนวข้อสอบ

ลงข้อมูลวันที่ : 30/01/2566
จำนวนผู้เข้าชม: 45



Download แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม

แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม เกี่ยวกับ พระราชบัญญัตติ วัฒนธรรมแห่งชาติ 2553

ลงข้อมูลวันที่ : 30/01/2566
จำนวนผู้เข้าชม: 134



Download แนวข้อสอบ ป.ป.ช.

แนวข้อสอบ สังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ทัศนคติ ของคนไทย ของ สำนักงาน ปปช.

ลงข้อมูลวันที่ : 27/12/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 100



Download แนวข้อสอบ ป.ป.ช.

พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และแนวข้อสอบพร้อมเฉลย

ลงข้อมูลวันที่ : 27/12/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 173



Download ข้อสอบความรู้ทั่วไป

ทฤษฏีในการทําข้อสอบ สํานวน สุภาษิต และคําพังเพย ไม่มีหลักในการจับที่ตายตัว การที่จะทําข้อสอบ ได้ดีก็คือให้จําสํานวน สุภาษิต และคําพังเพย พร้อมด้วยความหมายของคํานั้น ๆ (จําได้มากยิ่งดี) ..

ลงข้อมูลวันที่ : 06/12/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 138



Download ข้อสอบภาค ก ทุกตำแหน่ง

ชุมชนแห่งการแบ่งปัน สูตร(เทคนิค) ตรรกศาสตร์

ลงข้อมูลวันที่ : 06/12/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 177



Download ข้อสอบ กพ 66

แนวข้อสอบวิชาความรู้ด้านกฎหมาย พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พรฎ.บริหารกิจการบ้านเมือง วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ลงข้อมูลวันที่ : 02/12/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 121



Download แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม

พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม

ลงข้อมูลวันที่ : 01/12/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 135



Download แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม

ลงข้อมูลวันที่ : 01/12/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 131



Download แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม

การแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 2562 พรบ. และแนวข้อสอบ

ลงข้อมูลวันที่ : 01/12/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 131



Download ข้อสอบกรมพัฒนาชุมชน

แนวข้อสอบการพัฒนาชุมชน ของกรมพัฒนาชุมพร้อมเฉลย 100 ข้อ

ลงข้อมูลวันที่ : 30/11/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 440



Download ข้อสอบธุรการและงานสารบรรณ

แนวข้อสอบ (งานธุรการ) งานสารบรรณและการยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ พร้อมเฉลย 

ลงข้อมูลวันที่ : 30/11/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 199



Download ข้อสอบท้องถิ่น

แนวข้อสอบท้องถิ่น แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และ นักจัดการงานทั่วไป จำนวน 154 ข้อ พร้อมเฉลย

ลงข้อมูลวันที่ : 30/11/2565
จำนวนผู้เข้าชม: 159



Download ข้อสอบอังกฤษ

รวมคำศัพทภ์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวันสำคัญและวันหยุดต่างๆ

ลงข้อมูลวันที่ : 29/11/2565
ข้อสอบราชการ - งานราชการ
ข้อสอบราชการ - งานราชการ

ราชการไทย.com

หางานราชการและความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงาน

และความรู้เกี่ยวกับการเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ในหน่วยงานภาครัฐ


 งานราชการที่กำลังเปิดรับสมัครสอบ/ความรู้เกี่ยวกับการทำงาน


พนักงานราชการสามารถปรับเป็นข้าราชการได้หรือไม่


จะมีการปรับให้พนักงานราชการเป็นข้าราชการ หรือไม่อย่างไร

  ไม่มี 

เนื่องจากการบรรจุเป็นข้าราชการต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนด ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสมัครเข้ารับการสรรหาและเลือกสรรได้

ลงข้อมูลวันที่: 20/10/2565

พนักงานราชการ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการนั้น คือใคร


พนักงานราชการ คือ ผู้ที่ได้รับการจ้างงานตามสัญญาจ้างด้วยงบบุคลากรและมีระยะเวลาจ้างสิ้นสุดแน่นอน โดยการจ้างพนักงานราชการจะต้องทําสัญญาจ้างกับส่วนราชการต้นสังกัด

ซึ่งสามารถจ้างได้ไม่เกิน 4 ปี

ในแต่ละสัญญา และสามารถต่อสัญญาได้ หากส่วนราชการมีความจําเป็น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับภารกิจและงบประมาณของส่วนราชการ โดยพนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคม และที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการกําหนด
 

ลงข้อมูลวันที่: 19/10/2565

พนักงานราชการ ในความหมายของ “เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้


พนักงานราชการอยู่ในความหมายของ “เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน” ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบําเหน็จความชอบสําหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2550 หรือไม่


คณะกรรมการพิจารณาบําเหน็จความชอบสําหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า

พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้

อยู่ในความหมายของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตามระเบียบดังกล่าว

ลงข้อมูลวันที่: 19/10/2565

มารู้จัก กองทุนประกันสังคม กันดีกว่า


กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อต้องประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้ง กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตรชราภาพ และว่างงาน


ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่1 คนขึ้นไป (มีอายุไม่ต่ำกว่า15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน) จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30วัน นับตั้งแต่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่ลูกจ้างเข้าทำงานเช่นกันขึ้นทะเบียนได้ที่ไหน?

นายจ้าง

ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นแบบได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

นายจ้าง      

ที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

นายจ้างสามารถทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ www.sso.go.th

ลงข้อมูลวันที่: 19/10/2565

พนักงานราชการ กับ พนักงานจ้าง เหมือนกันหรือไม่


อยากทราบว่าพนักงานจ้าง กับพนักงานราชการเหมือนกันหรือไม่ 

พนักงานราชการ 

เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทหนึ่ง ตามระเบียบสํานัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 โดยได้รับการจ้างงานตาม
สัญญาจ้าง

ส่วนพนักงานจ้าง 

เป็นพนักงานตามระบบการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น ซึ่งมีระบบการบริหารงานบุคคลที่เหมือนกันประการหนึ่ง คือ ใช้ระบบสัญญาจ้างสําหรับรายละเอียดอื่นๆ ต้องศึกษาจากระเบียบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ลงข้อมูลวันที่: 19/10/2565

พนักงานราชการแตกต่างจากข้าราชการ และลูกจ้างประจํา อย่างไร


พนักงานราชการแตกต่างจากข้าราชการ และลูกจ้างประจํา อย่างไร 

พนักงานราชการ

จะสามารถไปสมัครสอบแข่งขันในส่วนของข้าราชการได้เลย หรือจะต้องออกจากการเป็นพนักงานราชการก่อน

ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจํา

อยู่ภายใต้กฎหมายคนละฉบับ ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจึงต่างกัน เช่น ข้าราชการ และ
ลูกจ้างประจําที่มีวุฒิอย่างเดียวกันกับพนักงานราชการ เมื่อบรรจุเข้ารับราชการจะได้รับเงินเดือนตํ่ากว่าพนักงานราชการ 20% 

พนักงานราชการ

สามารถสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กําหนด โดยที่ยังไม่ต้องลาออกจากการเป็นพนักงานราชการ แต่จะต้องลาออก เมื่อได้รับการเลือกสรร 

และจะมีการทําสัญญาจ้างเป็นพนักงานราชการ

ลงข้อมูลวันที่: 19/10/2565

ส่วนราชการจะจ้างพนักงานราชการในตําแหน่งใดได้บ้าง


ส่วนราชการจะจ้างพนักงานราชการในตําแหน่งใดได้บ้าง

สามารถจ้างพนักงานราชการในตําแหน่งที่ ส่วนราชการกําหนดได้ตามกลุ่ม
งาน ดังต่อไปนี้

 1) พนักงานราชการประเภททั่วไป ประกอบด้วย 5 กลุ่มงาน คือ 
กลุ่มงานบริการ 
กลุ่มงานเทคนิค 
กลุ่มงานบริหารทั่วไป 
กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ 
และกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ 

2) พนักงานราชการประเภทพิเศษ มี 1 กลุ่มงาน คือ 
กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ

ลงข้อมูลวันที่: 19/10/2565

ตัวอย่างตําแหน่งที่จะจ้างเป็นพนักงานราชการตามกลุ่มงานเทียบกับข้าราชการ


ขอให้ยกตัวอย่างตําแหน่งที่จะจ้างเป็ นพนักงานราชการตามกลุ่มงานเทียบกับข้าราชการปัจจุบัน

กลุ่มงานบริการ 

เช่น ตําแหน่งผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ พี่เลี้ยงเด็ก 
พนักงานช่วยการพยาบาล 
พนักงานเขียนโฉนด
 ฯลฯ 

กลุ่มงานเทคนิค

เช่น นายท้ายเรือกลลํานํ้า 
ช่างเครื่องเรือ 
ช่างกษาปณ์ 
พนักงานขับเครื่องจักร 
นาฏศิลปิน 
ช่างประณีตศิลป์ 
ฯลฯ 

กลุ่มงานบริหารทั่วไป 

เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 
นิติกร 
บุคลากร 
พนักงานคุมประพฤติ 
นักวิชาการเกษตร 
นักวิชาการสาธารณสุข 
ฯลฯ 

กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ

เช่น นายแพทย์ 
สถาปนิก 
วิศวกร 
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 
พยาบาลวิชาชีพ 
นักกีฏวิทยารังสี 
ฯลฯ 


กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ 

เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 
ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปแขนงต่าง ๆ 
นักบิน 
ฯลฯ 


กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ

เช่น ที่ปรึกษา 
ผู้ทรงคุณวุฒิ 
ผู้บริหารโครงการ
 ฯลฯ

ลงข้อมูลวันที่: 19/10/2565

ที่ต้องทำถ้าซื้อของออนไลน์แล้ว โดนโกง เมื่อโอนเงินไปแล้ว


มีผู้ให้คำแนะนำว่า ถ้าซื้อของออนไลน์แล้ว โดนโกงโอนเงินไป ต่อมารู้ว่าถูกโกง 

วิธี เอาเงินคืนจากกระเป๋า คนที่โกงสิ่งที่ต้องทำ คือ


1. ไปโรงพัก แจ้งเจ้าพนักงานว่ามีการโกงโน่นนี่นั่น เอาสลิปการโอนเงิน ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ #อย่าลงบันทึกประจำวันเป็นอันขาด ให้แจ้งความ "ขอแจ้งความจับดำเนินคดี"

2. ขอถ่ายเอกสารใบแจ้งความเอกสารต้องมีสิ่งสำคัญ             

 1. เลขที่เอกสาร   
2.ตราครุฑด้วย

3. พอได้เอกสารแล้ว ให้ไปธนาคาร ของโจร ที่เราโอนเงินไป (สาขาไหนก็ได้ ที่ใกล้บ้านเรา) บอกเจ้าหน้าที่ว่า เราต้องการเงินคืน จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเอาเอกสารมาให้กรอก ก็กรอกไปตามเจ้าที่บอก และอย่าลืมว่าระบุ

"ต้องการเงินคืน"

ทีนี้ จนท.เขาจะบอกว่า จะตรวจสอบแล้วแจ้งให้เราทราบ อาจนานหน่อย แต่โอกาส ได้เงินคืนมีสูง

แต่ที่สำคัญโจรคนนั้น จะไม่สามาถทำธุรกรรมการเงินใด้เลย แม้แต่ที่เดียว ทุกธนาคารจนกว่า จะเคลียร์กับเราก่อน หรือ เคลียร์กับธนาคารนั้นๆก่อน


เพราะนอกจะเป็นคดีกับเราแล้ว…ก็ยังเป็นคดีกับธนาคารด้วย #ซึ่งธนาคารจะดำเนินการตามไวมาก

ลงข้อมูลวันที่: 18/10/2565

ระเบียบการลาของข้าราชการแบ่งออกเป็น 11 ประเภท


เป็นข้าราชการจะลา ต้องรู้ระเบียบการลาของข้าราชการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้

1. การลาป่วย
2. การลาคลอดบุตร
3. การอาไปช่วยเหลือภิริยาที่คลอดบุตร
4. การลากิจส่วนตัว
5. การลาพักผ่อน
6. การลาอุปสมบทหรือการอาไปประกอบพิธีฮัจย์
7. การเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
8. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
9. การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
10. การลาติดตามคู่สมรส
11. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

ขอบคุณสาระดีดีจากเพจ :ชุมชน อปท.

ลงข้อมูลวันที่: 18/10/2565

โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) คือ ?


โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders)  คือ ?

โรคในกลุ่มซึมเศร้า
(depressive disorders)

โรคอารมณ์ผิดปกติแบบสองขั้ว
(bipolar disorders)

โรคอารมณ์ผิดปกติที่เกิดจากภาวะทางกาย
(mood disorder due to a general medical condition)

โรคอารมณ์ผิดปกติที่เกิดจากการใช้สาร
(substance induced mood disorder)

โรคอารมณ์ผิดปกติที่ไม่เข้าพวก
(mood disorder not otherwise specified)
ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์,ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorder).

#สาระดีดี #ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

ลงข้อมูลวันที่: 18/10/2565

การใช้คํานําหน้าชื่อในหนังสือราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม พ.ศ. 2536


การใช้คํานําหน้านามหรือนําหน้าชื่อในหนังสือราชการจะต้องถือปฏิบัติตามระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พุทธศักราช 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สรุปรายละเอียด ดังนี้


บุคคลธรรมดา

 ให้ใช้คํานําหน้านามว่า นาย นาง นางสาว ตามปกติ

 

มีฐานันดรศักดิ์ (เชื้อสายราชสกุล)

ให้ใช้คํานําหน้าตามสิทธิ์เป็นต้นว่า หม่อมหลวง หม่อมราชวงศ์หม่อมเจ้า

 

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทําให้มีคํานําหน้านามว่า คุณ คุณหญิง และท่านผู้หญิง

ให้ใช้เป็นคํานําหน้านามตามที่ได้รับพระราชทาน

 

ผู้มีตําแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์รวมถึงคําต่อท้ายตําแหน่งดังกล่าวคือ พิเศษ กิตติคุณ หรือเกียรติคุณ

ให้ใช้เป็นคํานําหน้านามได้ตลอดไป ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ตําแหน่งทางวิชาการเป็นคํานําหน้านาม พุทธศักราช 2536

 

ผู้มียศทหาร หรือตํารวจ ให้ใช้คํานําหน้านามตามชั้นยศของตน เช่น พลเอก พลตํารวจโท พันเอก (พิเศษ) นาวาตรีร้อยเอก เรืออากาศโท นายดาบตํารวจ จ่าสิบเอก พันจ่าตรีฯลฯ

กรณีที่ผู้ใช้มีคํานําหน้านามหลายอย่างให้เรียงลําดับโดยเริ่มจาก ตําแหน่งทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ และสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามลําดับนะคะ


ขอขอบคุณสาระดีดีจากเพจ: ดอกบัวใต้เสาชิงช้า


การเรียงลำดับการใช้ คำนำหน้านามให้เรียงตามลำดับก่อนหลัง

1. ตำแหน่งทางวิชาการ
2. ยศ
3. บรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์
4. คำนำหน้าสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์


ตัวอย่าง

ศาสตราจารย์พิเศษ ผลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอกกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา


ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม พ.ศ. 2536 และ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ภาคผนวก 3

 

ลงข้อมูลวันที่: 17/10/2565

คำที่มัก จะ เขียน ผิด และเขียนถูก ในการพิมพ์หนังสือราชการ


คำที่มัก จะ เขียน ผิด และเขียนถูก ในการพิมพ์หนังสือราชการ ที่ทุกคนที่ทำงานในหน่วยงานงานราชการต้องเคยผ่าน


คำที่มักจะเขียนผิด เช่น

1. อัพเดท

2. อัพโหลด

3. ดาวโหลด

4. แอพพลิเคชั่น

5. ลิงค์


ส่วนคำทับศัพท์ที่เขียนถูก คือ

1. อัปเดต

2. อัปโหลด

3. ดาวน์โหลด

4. แอปพลิเคชัน

5. ลิงก์
 


ขอขอบคุณสาระดีดีจากเพจ: ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

ลงข้อมูลวันที่: 17/10/2565

วิธีเพิ่มความสำเร็จในเรื่องการทำงานและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข


วิธีเพิ่มความสำเร็จในเรื่องการทำงานและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข

ความสามารถในการใช้ชีวิตแบบมีความสุข ด้วย 7Q (energized personal productivity)


#IQ : Intelligence Quotient ความสามารถด้านการคิดใช้เหตุผลและภาษา 

#EQ : Emotional Quotient  ความสามารถในการรจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

#AQ : Adversity Quotient ความสามารถในการรับมือวิกฤตและแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ อดทน และรับผิดชอบ

#CQ : Creativity Quotient ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ 

#SQ : Spiritual Quotient  ความสามารถในการพัฒนาและใช้ชีวิตที่เชื่อมโยงระหว่าง 3 มิติ (3S) ได้แก่ Self Social Spirit

#LQ : Leadership Quotient ความสามารถในการเป็นผู้นำ สามารถชี้นําบุคคลเพื่อทําภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้สําเร็จ 

#PQ : Physical Quotient ความสามารถในการดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรง 
สมบูรณ์อยู่เสมอ 

นอกจากจะมี EQ การจัดการอารมณ์แล้ว ถ้ามี Q อื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกก็จะทำให้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขส่งผลให้ประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องของการทำงานและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม  

ที่มา : ดร.นพ. ยุทธนา ภาระนันท์. อัจฉริยะบริหารไดุ้ไขพลัง เพิ่มผลผลิต (7Q-energized personal productivity) 


ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จากเพจ:ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

ลงข้อมูลวันที่: 17/10/2565

ความรู้ HR นิยาม คำว่า "ค่าจ้าง" และ "สวัสดิการ" จะเรียกชื่ออะไรก็ไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข


ความรู้ HR นิยาม คำว่า "ค่าจ้าง" และ "สวัสดิการ" จะเรียกชื่ออะไรก็ไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และความชัดเจนในการจ่าย ว่าเป็นค่าจ้าง หรือ สวัสดิการ


ความรู้ HR นิยาม "ค่าจ้าง"

1.จ่ายเป็นเงิน
2.ตอบแทนการทำงาน
3.ในเวลาทำงานปกติ

** จะเรียกชื่ออะไรก็ไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และความชัดเจนในการจ่าย ว่าเป็นค่าจ้าง หรือ สวัสดิการ **


ความรู้ HR การจ่ายเงินให้พนักงาน ต้องชัดเจนในเรื่อง

1. จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไหม
2. จ่ายประจำหรือไม่
3. จ่ายเท่ากันทุกเดือนหรือไม่
4. จ่ายเป็นเงินหรือไม่
5. มีเงื่อนไขการจ่ายหรือไม่ (เช่น มีใบเสร็จมาแสดง)
6. มีระเบียบการจ่ายค่าจ้าง หรือสวัสดิการ ชัดเจนหรือไม่


ขยายความ ระหว่าง . "ค่าจ้าง" และ "สวัสดิการ"

HR ควรแยกแยะและเข้าใจถึง คำว่า "ค่าจ้าง" และ "สวัสดิการ" ให้ถ่องแท้นะครับ

 

วันนี้ผมขออธิบายถึง  พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ให้คำจำกัดความว่า

ค่าจ้าง หมายความว่า

เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง  สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ  เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น  หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความ รวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด  และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน  แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้

ค่าต่างๆที่นายจ้างใช้เรียก เพื่อหลีกเลี่ยงว่าไม่เป็นค่าจ้างมีเยอะมาก  แต่หลักการสั้นๆ ที่หมายถึงค่าจ้างนั้น คือ  “นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนในการทำงานปกติหรือไม่” 

หากใช่ คือค่าจ้าง  แต่หากไม่ใช่ ก็จะเป็นสวัสดิการ  สำหรับ HR เอง อย่าไปเหมาหรือไปจำข้อมูลชื่อค่าต่างๆอะไรผิดๆนะครับ  ผมขอยกตัวอย่าง

ค่าน้ำมันรถ และค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ----- กรณีนายจ้างจ่ายโดยให้ลูกจ้างไม่ต้องมีใบเสร็จมาแสดง และจ่ายเป็นรายเดือน เท่ากันทุกเดือน โดยไม่มีเงื่อนไข เงินค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์เหมาจ่ายจึงเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง  จึงเป็นค่าจ้าง

 

แต่หาก ค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ ----- นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างต้องนำใบเสร็จมาแสดง  โดยจ่ายจริงตามใบเสร็จ เพื่อเป็นหลักฐานการเบิก แม้นายจ้างจะไม่ได้ตรวจสอบและจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำ แต่ก็เห็นได้ว่าไม่ได้เป็นการเหมาจ่าย  , จำนวนเงินที่ลูกจ้างได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงินที่ปรากฎในใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการขอเบิก  เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินทดแทนในการเดินทาง เป็นเพียงสวัสดิการ ไม่ใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนในการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้าง


เห็นไหมครับ ค่า ที่เป็นค่าเดียวกัน แต่ไม่ได้ฟันธงได้ว่าเป็นค่าจ้างหรือสวัสดิการ ทาง HR เองต้องดูถึงมุมมอง และจุดประสงค์ในการจ่ายนั้น ว่าตอบแทนในการทำงานในการทำงานปกติหรือไม่

และยังมีอีกมากมาย ที่ลูกจ้างไม่รู้ เพราะ HR ที่ไม่แม่นจริงอาจหลีกเลี่ยง เช่น ค่ากันดาร ค่าภาษา ค่าใบประกาศนียบัตร ค่าอาหาร ค่าเบี้ยขยัน ฯลฯ (และอีกหลายร้อยชื่อที่นายจ้างอยากจะตั้ง)

 

มีทางหนึ่ง ที่แอดมินอยากแนะนำมากๆ ว่าเป็นค่าจ้างหรือสวัสดิการ นั่นคือ

 

หากนายจ้างอยากให้เป็นสวัสดิการ  ทาง HR ทำประกาศ ให้เป็นนโยบาย มีเงื่อนไข และมีหลักเกณฑ์การจ่ายที่ต้องมีใบเสร็จมาแสดง รวมทั้งระบุความชัดเจนถึง  ไม่ได้ตอบแทนการทำงาน แต่ให้เพื่อเป็นสวัสดิการเพิ่มเติม ให้ใครได้บ้าง ตำแหน่งใดบ้าง จ่ายในวงเงินเท่าไร มีแบบฟอร์มการขอเบิก และหากให้ดีกว่านั้น ให้ระบุวันที่มีผล และวันที่สิ้นสุด (เพราะเรื่องผลประโยชน์ หรืออะไรที่เป็นคุณประโยชน์ของพนักงาน หากให้แล้วเอาคืนไม่ได้ ลดลงไม่ได้ แต่หากมีการระบุว่าเป็นสวัสดิการ และมีกำหนดวันสิ้นสุด ย่อมชัดเจนในเรื่องนโยบาย ว่าเป็นสวัสดิการจริงๆ) ไม่ใช่ค่าจ้าง

 

ผมพยายามย้ำว่า สำคัญที่สุด ว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่นั้น ให้ดูเงื่อนไขในการจ่ายครับ ว่า “นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนในการทำงานปกติหรือไม่”

 

หากจะให้ผมแนะนำ  อยากแนะนำว่าให้ทำเป็นสวัสดิการ  จะมีกี่สวัสดิการ  ก็ต้องทำเป็นเฉพาะเรื่องไปครับ


Facebook : เพจความรู้ HR

ลงข้อมูลวันที่: 11/10/2565

การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541


การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ นายจ้างควรจ่าย และคิดคำนวณกันแบบไหน ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541


               การบอกเลิกสัญญาจ้าง

               (๑) กรณีการจ้างมีกำหนดระยะเวลาสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาจ้างโดยนายจ้างและลูกจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

               (๒) กรณีการจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา

                              (๒.๑) ถ้านายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง

                                       ถ้านายจ้างบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ลูกจ้างทราบอย่างน้อยหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนดถ้านายจ้างไม่บอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ลูกจ้างทราบอย่างน้อยหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและเงินที่ลูกจ้างควรจะได้รับเท่ากับค่าจ้างนับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผล

                              (๒.๒) ถ้าลูกจ้างขอลาออกจากงาน ให้ลูกจ้าง

                                       บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบอย่างน้อยหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้างโดยนายจ้างไม่จำเป็นจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

               (๓) สัญญาจ้างทดลองงานที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาถือเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการเลิกจ้าง

               คือการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใดหรือการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้


การเกษียณอายุ

               ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างและได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็นกรณีดังนี้

               - กรณีนายจ้างกำหนดอายุเกษียณไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ให้ลูกจ้างเกษียณก่อนอายุครบ ๖0 ปีบริบูรณ์ ให้ถือว่าการเกษียณอายุไปเป็นตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างนั้น

               - กรณีนายจ้างกำหนดอายุเกษียณไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ให้ลูกจ้างเกษียณอายุเกินกว่า ๖o ปีบริบูรณ์ หรือไม่ได้มีการกำหนดการเกษียณอายุไว้ ลูกจ้างมีสิทธิขอเกษียณอายุโดยแสดงเจตนาต่อนายจ้างได้เมื่อมีอายุครบ ๖0 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ ๓๐ วันหลังการแสดงเจตนานั้น


ค่าชดเชย

ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย จะต้องได้รับค่าชดเชย ดังต่อไปนี้

               ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ ๑๒๐ วันแต่ไม่ครบ ๑ ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๓ วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๓๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างตามผลงาน

                ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ ๑ ปีแต่ไม่ครบ ๓ ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๙๐ วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๙๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างตามผลงาน

                ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ ๓ ปีแต่ไม่ครบ ๖ ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๑๘๐ วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๑๘๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างตามผลงาน

                ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ ๖ ปีแต่ไม่ครบ ๑๐ ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๒๔๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๒๔๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างตามผลงาน

               ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ ๑๐ ปีแต่ไม่ครบ ๒๐ ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๓๐๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๓๐๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างตามผลงาน

              ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ ๒๐ ปีขึ้นไป

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๔๐๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๔๐๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างตามผลงาน
 

ลงข้อมูลวันที่: 11/10/2565

| ข้อสอบท้องถิ่น

| ข้อสอบตำรวจ | ข้อสอบครูผู้ช่วย | ข้อสอบราชการทุกตำแหน่ง | ข้อสอบคอมพิวเตอร์ | ข้อสอบพรบ.และกฏหมาย | ข้อสอบครูกทม. | ข้อสอบ กพ. | ข้อสอบครูสังคม | ข้อสอบธุรการและงานสารบรรณ | ข้อสอบครูคณิตศาสตร์ | ข้อสอบครูภาษาไทย | ข้อสอบอังกฤษ | ข้อสอบนักวิชาการ | ข้อสอบพัฒนาชุมชน | ข้อสอบเหตุการณ์ปัจจุบัน | ข้อสอบครูอาชีวะ | ข้อสอบใบขับขี่ | ข้อสอบความรู้ทั่วไป | ข้อสอบกรมพัฒนาชุมชน | ข้อสอบพนักงานราชการ | ข้อสอบบัญชี / การเงิน | ข้อสอบไม่มีเฉลย | ข้อสอบครูกรณีพิเศษ | ข้อสอบปลัดอำเภอ | ข้อสอบการไฟฟ้า | ข้อสอบ ธกส. | ข้อสอบภาค ก ทุกตำแหน่ง | ข้อสอบท้องถิ่น 64 | ข้อสอบ กพ. 64 | ข้อสอบ กพ 65 | แนวข้อสอบตำรวจ 65 | ข้อสอบ กพ 66 | ข้อสอบนักเรียนนายสิบทหารบก | แนวข้อสอบ ป.ป.ช. | แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม | ข้อสอบท้องถิ่น 2566


แจกฟรีแนวข้อสอบราชการ เพื่อบรรจุเข้ารับราชการ ในหน่วยงานราชการ เป็นแหล่งรวบรวมแนวข้อสอบที่มีมากที่สุดในประเทศไทย รวบรวมจากผู้ใจบุญที่แบ่งปันบนโลกออนไลน์ต่างๆ ให้เป็นที่เดียวกัน เพื่อค้นหาได้ง่าย

ติดต่อลงโฆษณา : ที่ EMAIL : iba881248@gmail.com
replica watches 1:1 best edition replica watches 高仿手表