ข้อสอบราชการ - งานราชการ

ราชการไทย.com

หางานราชการและความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงาน

และความรู้เกี่ยวกับการเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ในหน่วยงานภาครัฐ


 งานราชการที่กำลังเปิดรับสมัครสอบ/ความรู้เกี่ยวกับการทำงาน


จะสมัครประกันสังคม ม.40 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง


บุคคลที่จะสมัครประกันสังคม ม.40 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง และกี่ทางเลือก


คุณสมบัติของผู้สมัคร มาตรา 40

- เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือ เป็นผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีเลขประจำตัวหลักแรกเป็น 0 หรือ 6 หรือ 7
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- ผู้พิการทางร่างกายที่รับรู้สิทธิ
- ไม่เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 หรือ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ผู้ประกันตนนอกระบบ (มาตรา 40)

ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39
การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 40 มีด้วยกัน 3 ทางเลือก ได้แก่
- จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
- จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
- และจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

ลงข้อมูลวันที่: 17/11/2565

ลาคลอด บริษัท หรือ นายจ้าง ต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้าง อย่างไร?


ลาคลอด บริษัท หรือ นายจ้าง ต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้าง อย่างไร?

ตามมาตรา 59 ระบุไว้ว่า "ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา 41 เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 45 วัน"

ซึ่งเนื่องจากตามกฎหมายเดิมให้ลาคลอดได้ 90 วัน และมีอัพเดทเพิ่มมาให้ลาไปตรวจครรภ์ได้อีก 8 วัน (เดือนละครั้ง) ดังนั้น วิธีคิดวันลาคลอด ที่บริษัทต้องจ่าย จะเป็นดังนี้

สิทธิลาคลอดตามกฎหมาย = 90 + 8 วัน สำหรับลาไปตรวจครรภ์

สิทธิวันลาคลอด บริษัทต้องจ่าย = 45 + 8 วัน


ทั้งนี้ตามมาตรา 59 ให้บริษัทจ่ายไม่เกิน 45 วัน ดังนั้น หากพนักงานไม่ได้ใช้สิทธิลาคลอดเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง (8 วัน) บริษัทจะแค่ 45 วัน หรือจ่ายเพิ่มให้เป็น 45+8 ทีหลังก็ได้ตามแต่บริษัทและลูกจ้างตกลงกัน


แต่ห้ามจ่ายน้อยกว่านั้นเด็ดขาด เพราะหากจ่ายน้อยกว่า 45 วัน ก็จะถือว่า ฝ่าฝืนการปฏิบัติตามมาตรา 59 และอาจจำต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทได้

ลงข้อมูลวันที่: 17/11/2565

พนักงานราชการที่จะได้เลื่อนค่าตอบแทนระยะเวลาการปฏิบัติงานเท่าใด


พนักงานราชการที่จะได้เลื่อนค่าตอบแทนในแต่ละรอบการประเมินจะต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานเท่าใด

ตอบ :

ในรอบปีงบประมาณที่แล้วมาต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า ๘ เดือน

ลงข้อมูลวันที่: 16/11/2565

พนักงานราชการจะไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้างในกรณีใดบ้าง


พนักงานราชการจะไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้างในกรณีใดบ้าง

ตอบ : ไม่มีกรอบอัตรากำลัง

- หากผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วมีคะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินผลการ

ปฏิบัติงาน ๒ ครั้งติดต่อกันต่ำกว่าระดับดี

ลงข้อมูลวันที่: 16/11/2565

การเลื่อนขั้นค่าจ้างของลูกจ้างประจำในหน่วยงานภาครัฐ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง


การเลื่อนขั้นค่าจ้างของลูกจ้างประจำในหน่วยงานภาครัฐ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ตอบ :

- การเลื่อนขั้นค่าจ้างในวันที่ 1 เมษายน มี 3 ระดับ คือ 0.5 ขั้น 1 ขั้น และไม่เลื่อนขั้นค่าจ้าง โดยพิจารณาตามผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานครึ่งปีแรก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม

- การเลื่อนขั้นค่าจ้างในวันที่ 1 ตุลาคม มี 4 ระดับ คือ 0.5 ขั้น 1 ขั้น 1.5 ขั้น และไม่เลื่อนขั้นค่าจ้าง โดยพิจารณาตามผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานครึ่งปีหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน

ลงข้อมูลวันที่: 16/11/2565

หน่วยงานราชการจะขอจ้างพนักงานราชการได้ต้องดำเนินการอย่างไร


ส่วนราชการ หรือหน่วยงานราชการ ที่ประสงค์จะจ้างพนักงานราชการจะต้องดําเนินการอย่างไรบ้าง

 คําตอบ 

ส่วนราชการต้องจัดทํากรอบอัตรากําลังพนักงานราชการเป็นกรอบที่มีระยะเวลา 4 ปี เสนอ อ.ก.พ.กระทรวงให้ความเห็นชอบก่อนขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ และเมื่อได้รับอนุมัติกรอบอัตรากําลังแล้ว 

จึงจะสามารถดําเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการตามกรอบที่ได้รับอนุมัติภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรร และทําสัญญาจ้างผู้ได้รับการเลือกสรรเป็นพนักงานราชการ 

ลงข้อมูลวันที่: 15/11/2565

จะมีการปรับให้พนักงานราชการเป็นข้าราชการได้หรือไม่


ในหน่วยงานราชการจะมีการปรับให้พนักงานราชการเป็นข้าราชการได้หรือไม่ อย่างไร

คําตอบ 

ไม่มี เนื่องจากการบรรจุเป็นข้าราชการต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนด ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสมัครเข้ารับการสรรหาและเลือกสรรได้

ลงข้อมูลวันที่: 15/11/2565

บุคคลในครอบครัวของข้าราชการ ที่มีสิทธิได้รบการรักษาพยาบาลได้แก่ใครบ้าง


บุคคลในครอบครัวของข้าราชการ ที่มีสิทธิได้รบการรักษาพยาบาลได้แก่ใครบ้าง
 

คำตอบ:

1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

2. บิดา มารดา

3. คู่สมรส

ทั้งนี้ไม่รวมบุตรบุญธรรมและบิดา มารดาบุญธรรม

 

ลงข้อมูลวันที่: 14/11/2565

ลูกจ้าง ต้องการหนังสือรับรองการส่งเงินสมทบของตนเอง ต้องดำเนินการอย่างไร


ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองการส่งเงินสมทบประกันสังคมของตนเอง มีขั้นตอนทำอย่างไรทั้งในกรณีติดต่อด้วยตนเอง หรือ กรณีมอบอำนาจ

1. กรณีมาติดต่อดวยตนเอง

- กรอกแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนที่เคาน์เตอร์ประชาสีมพันธ์
- รอเรียกคิว และ รับหนังสือรับรอง

2. กรณีมอบอำนาจ

- ผู้รับมอบอำนาจ จะต้องเป็นสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น
- กรอกแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน ที่เคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์
- แนบหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสมป์ 10 บาท
- แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
Cr.สำนักงานประกันสังคม
#ความรู้_HR

ลงข้อมูลวันที่: 14/11/2565

ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators (KPIS) คือ อะไร


ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators (KPIS) คือ อะไร

ตอบ

ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators (KPIS) เป็นดัชนีชี้วัด หรือหน่วยวัดความสำเร็จ ของผลการปฏิบัติราชการของผู้รับการประเมิน ซึ่งใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมิน และผู้รับการประเมินจะต้องกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติ ราชการและค่าเป้าหมายร่วมกันตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน และสิ่งที่กำหนดร่วมกันนี้จะใช้ เป็นเกณฑ์ในการประเมิน โดยเมื่อทำการประเมินก็ให้นำผลการปฏิบัติราชการที่เกิดขึ้นจริง ตามตัวชี้วัดนั้น ๆ มาพิจารณาเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อประเมินเป็นผลการ ประเมินหรือคะแนนการประเมิน

ลงข้อมูลวันที่: 11/11/2565

การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจะใช้หลักเกณฑ์การประเมินอย่างไร


การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจะใช้หลักเกณฑ์การประเมินอย่างไร

คำตอบ

 เนื่องจากยังเป็นระยะแรกของการเริ่มปฏิบัติราชการ ผู้อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอาจยังไม่สามารถปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจน จึงให้ประเมินองค์ประกอบด้านผลสัมฤทธิ์ของงานและพฤติกรรมการปฏิบัติราชการเป็นสัดส่วนคะแนน เท่ากัน คือ ร้อยละ ๕

ลงข้อมูลวันที่: 09/11/2565

การร้องเรียนกล่าวหาว่าข้าราชการกระทําผิดวินัย มีขั้นตอนการพิจารณาดําเนินการอย่างไรบ้าง


การพิจารณาดําเนินการในกรณีที่มีการร้องเรียนกล่าวหาว่าข้าราชการกระทําผิดวินัย มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

 คําตอบ

ตามหมวด ๒ ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้กําหนดหลักเกณฑ์การสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นไว้กล่าวคือ

                ๑. ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอํานาจหน้าที่ในการ พิจารณาว่าเรื่องที่กล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยนั้น มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชานั้นกระทําผิดวินัยหรือไม่ ส่วนในการดําเนินการของผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา ๕๗ เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวสามารถ ดําเนินการได้ตามที่กําหนดในข้อ ๕ ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. ๒๕๕๖ ดังนี้

                               ๑.๑ ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏในเบื้องต้นเพียงพอแก่การ พิจารณาแล้ว ตามข้อ ๕ (๑) ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ พิจารณาว่ากรณีนั้นมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัยหรือไม่ อย่างไร โดยจะไม่ทําการสืบสวนก็ได้

                               ๑.๒ ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่มีนั้นยังไม่เพียงพอที่จะพิจารณาได้ก็ให้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดําเนินการสืบสวนตามข้อ ๕ (๒) เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม ทั้งนี้จะดําเนินการด้วยตนเองหรือจะให้ ข้าราชการพลเรือนสามัญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นเป็นผู้ดําเนินการ สืบสวนแล้วรายงานมาเพื่อพิจารณาต่อไปก็ได้

ลงข้อมูลวันที่: 07/11/2565

งานลักษณะใดบ้างที่ไม่สามารถกําหนดเป็นกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการได้


งานลักษณะใดบ้างที่ไม่สามารถกําหนดเป็นกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการได้

คำตอบ

ลักษณะงานที่ไม่สามารถนํามากําหนดเป็นกรอบอัตรากำลัง เพื่อใช้จ้างพนักงานราชการได้ คือ ลักษณะงานที่กระทรวงการคลัง กําหนดให้ใช้การจ้างเหมาบริการเอกชน จํานวน 4 ประเภท ได้แก่


- งานรักษาความปลอดภัย
- งานทําความสะอาด
- งานดูแลต้นไม้ สนามหญ้าและสวนหย่อม
- และงานพาหนะ

ลงข้อมูลวันที่: 31/10/2565

เมื่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้รับเรื่องร้องเรียนหรือตรวจพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัยจะต้องดําเนินการอย่างไร


เมื่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้รับเรื่องร้องเรียนหรือตรวจพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัยจะต้องดําเนินการอย่างไร


คําตอบ

 ต้องรายงานเรื่องร้องเรียนหรือข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทําความผิดวินัยไปยังผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติ

ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ สําหรับในกรณีที่มีเหตุผลความจําเป็นและเพื่อประโยชน์ของราชการ เช่น หากปล่อยให้ล่าช้าไปพยานหลักฐานจะถูกทําลาย หรือไม่อาจรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าวได้ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น อาจจะดําเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นและรายงานให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจสั่งบรรจุเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้

ลงข้อมูลวันที่: 28/10/2565

เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ได้แก่ใครบ้าง


ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ได้แก่ใครบ้าง

คำตอบ: ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับบาญ และลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาให้ได้รับค่าจ้างจากเงิน งบประมาณรายจ่าย

ลงข้อมูลวันที่: 25/10/2565

พนักงานราชการ มีระยะเวลาการจ้างอย่างไร


การจ้างพนักงานราชการ มีระยะเวลาการจ้างอย่างไร และใช้เงินประเภทใดในการจ้าง
 

  ระบบพนักงานราชการ

เป็นระบบการจ้างที่ มีสัญญาจ้างตามระยะเวลา ซึ่ง
ขึ้นอยู่กับความจําเป็นของภารกิจ โดยระยะเวลาสูงสุดของแต่ละสัญญาไม่เกิน 4 ปี 

ทั้งนี้หากภารกิจยังจําเป็นต้องดําเนินการต่อเนื่องก็อาจมีการต่อสัญญาเป็นสัญญาที่ 2 หรือมากกว่านั้นก็ได้

เช่น หากภารกิจนั้นต้องปฏิบัติในช่วงเวลา 10 ปี ถ้า
ผู้ปฏิบัติงานมีผลการปฏิบัติงานดีและผ่านการประเมินผลให้ต่อสัญญาได้ ก็อาจต่อสัญญาได้ถึง 3 สัญญา โดยอาจเป็นสัญญาละ 4 ปี จํานวน 2 สัญญา และสัญญา 2 ปี จํานวน 1 สัญญา สําหรับเงินงบประมาณของส่วนราชการในการจ้าง

พนักงานราชการดังกล่าวข้างต้น ใช้เงินงบประมาณประเภทงบบุคลากร

ลงข้อมูลวันที่: 22/10/2565