ข้อสอบราชการ - งานราชการ

ราชการไทย.com

หางานราชการและความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงาน

และความรู้เกี่ยวกับการเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ในหน่วยงานภาครัฐ


 งานราชการที่กำลังเปิดรับสมัครสอบ/ความรู้เกี่ยวกับการทำงาน


นายจ้างควรจัดวันหยุด ให้ลูกจ้างที่ทำงานกับนายจ้างด้วยน่ะ


นายจ้างควรจัดวันหยุด ให้ลูกจ้างที่ทำงานกับนายจ้าง เช่นวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่า 1 วันและต้องมีระยะห่างกัน ไม่เกิน 6 วัน สำหรับงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่างานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้แต่ต้องอยู่ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

วันหยุดตามประเพณี

ปีหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติให้พิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป สำหรับงานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม ฯลฯ อาจตกลงกันหยุดวันอื่น ชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ปีหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน สำหรับลูกจ้าง ซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนปีต่อมานายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดในปีนั้นไปรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้

ลงข้อมูลวันที่: 30/09/2565

ละทิ้งหน้าที่ 3 วันนายจ้างเลิกจ้างได้หากมีค่าจ้างค้างต้องจ่ายให้เรียบร้อย


ละทิ้งหน้าที่ 3 วันนายจ้างเลิกจ้างได้หากมีค่าจ้างค้างจ่ายก็ต้องจ่ายให้เรียบร้อย พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี

ตัวอย่างเคสนี้ ลูกจ้างขาดงานระหว่างวันที่ 29  เมษายน 2544 - 3 พฤษภาคม 2544


ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน และตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การที่ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่แจ้งนายจ้างตามระเบียบ และขาดงานไปดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการละทิ้งหน้าที่ไปเสีย

นายจ้างจึงชอบที่จะเลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583  นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง 

และเมื่อนายจ้างบอกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 4  พฤษภาคม 2544 ลูกจ้างซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ 1 และวันที่ 2 พฤษภาคม 2544 ซึ่งเป็นวันหยุดประจําสัปดาห์ และวันหยุดตามประเพณี และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 อันเป็นวันทํางานปกติของลูกจ้าง นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างตามวันดังกล่าวแก่ลูกจ้าง พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง 

ข้อสังเกต 

เคสนี้ แม้ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่แต่ช่วงเวลาที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปนายจ้างไม่ได้เลิกจ้าง มาเลิกจ้างภายหลังจากละทิ้งหน้าที่ 5  วัน ดังนั้น ช่วงเวลาดังกล่าวแม้จะมีวันหยุดคั่น แต่เมื่อลูกจ้างเป็นลูกจ้างที่รับเงินเดือนมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างด้วย
ที่มา คำพิพากษาฎีกาที่ 5713/2561 
cr: เพจ กฎหมายแรงงาน
รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์

ลงข้อมูลวันที่: 29/09/2565

ลูกจ้างที่ทำสัญญาจ้างปีต่อปีมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยหรือไม่


ในกรณีทำงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเช่นตกลงจ้างปีต่อปีหรือว่าจ้าง 6 เดือนอันนี้เราก็รู้ว่าเขาจะเลิกจ้างเราวันไหนเขาเรียกว่าสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนกรณีอย่างนี้เมื่อมีการทำงานไปครบระยะเวลา เช่นทำงานครบ 1 ปีตามสัญญาหรือทำงานครบ 6 เดือนทำสัญญาแล้วนายจ้างให้ออกจากงานจริงๆ ก็คือเขาก็บอกว่าเขาไม่ได้เลิกจ้างหรอกแต่ว่าก็ครบสัญญาเขาไม่ได้พูดสักคำนะว่าเขาเลิกจ้างแต่มันครบสัญญากรณีอย่างนี้ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างเหมือนกันนะครับ
นายจ้างจะมาอ้างว่าไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เพราะการที่สัญญาครบกำหนดนั้นตามมาตรา 118 วรรคที่ 2 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานเขียนเอาไว้ว่าเป็นการเลิกจ้างเมื่อเป็นการเลิกจ้างนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยด้วย เช่นตกลงจ้างงกันมา 1 ปีกรณีอย่างนี้ถ้าครบปีพอดีเป๊ะนะครับต้องจ่าย 90 วันแต่ถ้าทำงานมาไม่ครบปีเช่นทำงาน 364 วันเขาก็ต้องจ่ายค่าชดเชย 30 วันครับเพราะถือว่าอยู่ในช่วงของทำงานครบ 120 วันจะไม่ครบ 1 ปีก็ต้องจ่ายค่าชดเชย 30 วัน

จำหลักไว้นะครับเมื่อสัญญาสิ้นสุดเขาไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านะครับเขาไม่ต้องบอกเราล่วงหน้าแปลว่าเราไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าตกใจ

แต่เรามีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเขาจะไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ถ้าเขาไม่จ่ายไปร้องแรงงานในเขตพื้นที่และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน
 

ทำไมเรียกจากวันที่ออกจากงาน เพราะ ค่าชดเชยต้องจ่ายทันทีที่ออกจากงาน

ลงข้อมูลวันที่: 28/09/2565

นายจ้างควรให้ลูกจ้างทำงานกี่ชั่วโมงต่อวัน


สิทธิหน้าที่ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ลูกจ้าง นายจ้างต้องรู้

1. เวลาทำงานปกติ

       1.1 กรณีงานทั่วไป

เวลาทำงานปกติต้องไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง หรือตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน แต่ต้องไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง

         1.2 กรณีงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

และความปลอดภัยของลูกจ้าง ได้แก่ งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือในที่อับอากาศงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี งานเชื่อมโลหะงานขนส่งวัตถุอันตราย งานผลิตสารเคมีอันตราย งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือหรือเครื่องจักรซึ่งผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตราย และงานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูงหรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ และต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล ให้มีเวลาทำงานปกติไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 42 ชั่วโมง

ลงข้อมูลวันที่: 28/09/2565