ข้อสอบราชการ - งานราชการ
ราชการไทย.com
แหล่งรวมแนวข้อสอบราชการพร้อมเฉลย
และความรู้เกี่ยวกับการทำงานในสถานประกอบกิจการ
Toggle navigation
หน้าหลัก
กดติดตามเพจ
(current)
งานราชการกำลังเปิดสอบ
เลือกห้องแจกข้อสอบ
-ข้อสอบท้องถิ่น
-ข้อสอบตำรวจ
-ข้อสอบครูผู้ช่วย
-ข้อสอบราชการทุกตำแหน่ง
-ข้อสอบคอมพิวเตอร์
-ข้อสอบพรบ.และกฏหมาย
-ข้อสอบครูกทม.
-ข้อสอบ กพ.
-ข้อสอบครูสังคม
-ข้อสอบธุรการและงานสารบรรณ
-ข้อสอบครูคณิตศาสตร์
-ข้อสอบครูภาษาไทย
-ข้อสอบอังกฤษ
-ข้อสอบนักวิชาการ
-ข้อสอบพัฒนาชุมชน
-ข้อสอบเหตุการณ์ปัจจุบัน
-ข้อสอบครูอาชีวะ
-ข้อสอบใบขับขี่
-ข้อสอบความรู้ทั่วไป
-ข้อสอบกรมพัฒนาชุมชน
-ข้อสอบพนักงานราชการ
-ข้อสอบบัญชี / การเงิน
-ข้อสอบไม่มีเฉลย
-ข้อสอบครูกรณีพิเศษ
-ข้อสอบปลัดอำเภอ
-ข้อสอบการไฟฟ้า
-ข้อสอบ ธกส.
-ข้อสอบภาค ก ทุกตำแหน่ง
-ข้อสอบท้องถิ่น 64
-ข้อสอบ กพ. 64
-ข้อสอบ กพ 65
-แนวข้อสอบตำรวจ 65
-ข้อสอบ กพ 66
-ข้อสอบนักเรียนนายสิบทหารบก
-แนวข้อสอบ ป.ป.ช.
-แนวข้อสอบกระทรวงวัฒนธรรม
-ข้อสอบท้องถิ่น 2566
LOGIN
โทษทางวินัย ข้าราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
#ราชการไทย.com
#โทษทางวินัย ข้าราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยโดยกระทําการ หรือไม่กระทําการตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ตามมาตรา 80 และตามมาตรา 88 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษ
โทษทางวินัย มี 5 สถาน คือ
1. ภาคทัณฑ์ กรณีกระทําผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทําทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือน เป็นจํานวนร้อยละของเงินเดือนและเป็นจํานวนเดือน โดยครั้งหนึ่ง ตัดเงินเดือนในอัตราร้อยละ 2 หรือร้อยละ 4 ของเงินเดือน ตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งลงโทษ เป็นเวลา 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือน ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556
3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษลดเงินเดือน เป็นจํานวนร้อยละของเงินเดือน โดยครั้งหนึ่ง ลดเงินเดือนในอัตราร้อยละ 2 หรือร้อยละ 4 ของเงินเดือน ตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งลงโทษ ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556
4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบําเหน็จบำนาญ
#สาระดีดี #เพจ: ดอกบัวใต้เสาชิงช้า
กรุณากดแชร์ด้วยค่ะ
กดดาวน์โหลดฟรีเลย
ข้อสอบราชการ - งานราชการ